วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผลงานอันโดดเด่นท้ังบทละคร เช่น เรื่อง King Lear, Hamlet, Macbeth รวมถึงกลอน Sonnet ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ของอังกฤษประเภทหนึ่ง
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค ได้นำเสนอบทแปล Sonnet ของเชกสเปียร์ เป็นกลอน กาพย์ และโคลงไทยหลายแบบ เพื่อทดลองว่าแบบไหนจะใช้แปลกลอนฝรั่งได้ดีกว่ากัน ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2522 - มกราคม 2523)
“ซอนเนทบทหนึ่งมีสิบสี่บาทหรือวรรค วรรคหนึ่งมีสิบพยางค์ (รวม 140 พยางค์) ลีลาใช้คำเบาสลับคำหนัก (ลหุครุ) กลอนฝรั่งเอาสัมผัสนอกไว้ท้ายวรรค ซอนเนทมีหลายแบบ ที่เชกสเปียร์ใช้สัมผัสสลับเป็นคู่ๆ จนถึงสองบาทท้ายสัมผัสอยู่ติดกัน พูดอย่างไทยๆ ก็ต้องว่า เป็นกลอนสามบทแถมสามบาทสุดท้ายเพื่อสรุปหรือมัดความในซอนเนททั้งบท
ข้าพเจ้ามีเจตนาที่จะแปลให้เป็นบทกวีในภาษาไทย คือเก็บความสำคัญและอารมณ์เดิม แทนที่จะแปลตามคำ (แต่ก็ไม่เจตนาที่จะซ่อนว่าเป็นบทแปลมาจากภาษาอื่น) จะให้ดีควรจะเก็บความทีละบาท แต่ข้าพเจ้าเก็บทีละสองบาท ถ้าสองบาทไม่ได้ก็ทีละสี่บาท…”
Sonnet ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1609
(ที่มา: https://www.bl.uk/shakespeare/articles/an-introduction-to-shakespeares-sonnets)
ตัวอย่างบทแปล Sonnet 55
Not marble, nor the gilded monuments
Of princes, shall outlive this powerful rime;
But you shall shine more bright in these contents
Than unswept stone, besmear’d with sluttish time
When wasteful war shall statues overturn,
And broils root out the work of masonry,
Nor Mars his sword nor war’s quick fire shall burn
The living record of your memory.
‘Gainst death and all-oblivious enmity
Shall you pace forth; your praise shall still find room
Even in the eyes of all posterity
That wear this world out to the ending doom.
So, till the judgment that yourself arise,
You live in this, and dwell in lovers’ eyes.
แปลเป็นกลอนไทย ดังนี้
“ศิลาหรือราชานุสวารีย์
จะทนเท่ารัศมีกวีฉาย
ตราบอิฐปูนสูญสิ้นแผ่นดินทลาย
คำกวีฤจะวายจะหายจาง
สงครามจะลามจะรุกเร้า
เทพเจ้าพระอังคารจะผลาญร่าง
รูปลักษณ์สลักไว้แต่ปาง
ถล่มล้างหล่นล้มจมดิน
ความตายกระหายจะหมายลบ
วอดร่างว่างกลบจนสิ้น
โฉมเจ้าแจ่มฟ้าเป็นอาจิณ
เสน่ห์สิ้นเล่ห์กวีไม่มีวาย
โฉมเจ้าห่อนจางห่างหาย
โฉมเจ้าห่อนสลายในลายสือ ฯ”
อ่านคำแปลบทอื่นๆ ได้ในบทความ “แปลกลอนของเชกสเปียร์” โดย พ.ณ ประมวญมารค ใน 10 ปีแรกวารสารเมืองโบราณ คลิก https://www.yumpu.com/xx/document/view/67688048/-6-2